User:Clumsily/Civil and Commercial Code

Source: Wikipedia, the free encyclopedia.
Civil and Commercial Code
The Royal Decree Promulgating the Revised Provisions of Books 1 and 2 of the Civil and Commercial Code (published in the Government Gazette volume 42/page 1/November 11, 1925)
King Vajiravudh,
King Prajadhipok and
King Bhumibol Adulyadej
CitationCCC
Enacted byKing Vajiravudh,
King Prajadhipok and
King Bhumibol Adulyadej
EnactedSee below
Assented toSee below
SignedSee below
CommencedSee below
Amended by
See below
Related legislation
See websites below

The Civil and Commercial Code (Thai: ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์; RTGSPramuan Kot Mai Phaeng Lae Phanit), or, in brief, CCC (Thai: ป.พ.พ.), is the civil code of Thailand. The drawing up of the Code began in 1908 during the riegn and at the initiation of King Chulalongkorn following the promulgation of the Siamese Penal Code in the same year, with the purpose of being a key instrument for revoking the treatries whereby Siam (or present Thailand) was forced to grant western countries extraterritoriality.[1]

The Code was influenced heavily by the German Civil Code and the Japanese Civil Code, and partly by the French Civil Code and the Swiss Civil Code, including indigenous laws of the country itself, civil laws of other countries and certain international laws.[2]

The drafting of the Civil and Commercial Code has been carried out so slowly; as the drawing up of mere Book 1, out of six Books in total, took fifteen years, a great amount of budgets as well as four sets of drafting committee. It was notable that every set of the drafting committees consisted of French scholars, particularly, all members of the first set were French. The completion of drawing up the whole Code took more than thirty years.

The Civil and Commercial Code comprises of six Books: Book 1 General Principles, Book 2 Obligation, Book 3 Specific Contracts, Book 4 Property, Book 5 Family and Book 6 Succession. As from its first promulgation in 1925, the Code ages nearly a century.

History

Codification of national laws

In the 19th Century, Siam (or, presently, Thailand) and other countries in the same continent inevitable confronted with the western influence governing politics, administration, economy and social. Eventually, many countries, including Japan and China, were forced to accept and adopt various western ideas. At the time, the administration of Siam was disdained by westerners as barbarian and unsuitable to modern days to such an extent that they did not accept the application of the laws of the country. This caused Siame to be compelled to adopt several treaties with foreign countries granting them extraterritoriality.[1]

In order to alleviate foreign streams against the Siamese law, the country adopted certain principles from England's common law system into its trial and adjudication of legal cases where no provision of the Code of the Three Great Seals was applicable or proper. At the time being, a law school was established in the reign of King Chulalongkorn to provide education of law as common law countries. The school was later evoluated to be the Faculty of Law, Thammasat University at present.[3]

King Chulalongkorn Equestrian, Dusit Palace Plaza, Bangkok

So as to have modernised legislation to be a cheif condition for releasing from the said treaties of extraterritoriality, King Chulalongkorn made his decision to carriy out the codification of the national laws as continental countries. In his preamble appeared in the Siamese Penal Code, the King stated that:[4]

"...As of the 1217th year of Chula Sakarat, being the year of rat, the 74th year of Rattanakosin Era, our Kingdom has adopted many treaties of friendship with foreign states as several eastern countries, for instance, Turkey, China and Japan, have adopted with western countries. By virtue of the treaties, we have to accept the jurisdiction of the consulate courts to, according to their laws, try and adjudicate cases in which their subjects dispute with themselves or locals. This may help alleviating the responsibility of the Kingdom at the initial period during which only few foreigners visit and reside in the Kingdom for commercial purpose; however, the more the foriegners come into our Kingdom, the harder the administration of justice as to them is carried out. The ในระหว่างตั้งแต่จุลศักราช 1217 ปีเถาะ สัปตศก รัตนโกสินทรศก 74 ประเทศไทยได้ทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีกับนานาประเทศ และหนังสือสัญญาทั้งปวงนั้นได้ทำตามแบบหนังสือสัญญาที่ฝรั่งได้ทำกับประเทศทางตะวันออก คือ ประเทศเตอรกี ประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น มีข้อความอย่างเดียวกันที่ยอมให้กงสุลมีอำนาจตั้งศาลพิจารณาและพิพากษาคดีตามกฎหมายของเขา ในเมื่อคนในบังคับของชาตินั้น ๆ ที่เข้ามาอยู่ในประเทศทางตะวันออกเป็นความกันขึ้นเองหรือเป็นจำเลยของคนในบังคับของบ้านเมือง ลักษณการอย่างนี้ แม้จะมีประโยชน์ที่บรรเทาความรับผิดชอบแห่งเจ้าของประเทศได้อยู่บ้างในสมัยเมื่อแรกทำหนังสือสัญญา เวลายังมีชาวต่างประเทศพึ่งเข้ามาค้าขาย แต่ต่อมาเมื่อการค้าขายคบหากับนานาประเทศเจริญแพร่หลาย มีชาวต่างประเทศมาตั้งประกอบการค้าขายในพระราชอาณาจักรมากขึ้น ความลำบากในเรื่องคดีที่เกี่ยวข้องกับคนในบังคับต่างประเทศก็ยิ่งปรากฏเกิดมีทวีมากขึ้นทุกที เพราะเหตุที่คนทั้งหลายอันประกอบการสมาคมค้าขายอยู่ในประเทศบ้านเมืองอันเดียวกันต้องอยู่ในอำนาจศาลและในอำนาจกฎหมายต่าง ๆ กันตามชาติของบุคคล กระทำให้เป็นความลำบากขัดข้องทั้งในการปกครองบ้านเมืองและกีดกันประโยชน์ของคนทั้งหลายตลอดจนชนชาติต่างประเทศนั้น ๆ เองอยู่เป็นอันมาก ความลำบากด้วยเรื่องอำนาจศาลกงสุลเช่นว่ามานี้ย่อมมีทุกประเทศที่ได้ทำสัญญาโดยแบบอย่างอันเดียวกัน และต่างมีความประสงค์อย่างเดียวกันที่จะหาอุบายเลิกล้างวิธีศาลกงสุลต่างประเทศ ให้คนทั้งหลายไม่ว่าชาติใด ๆ บรรดาอยู่ในประเทศนั้น ๆ ได้รับประโยชน์อยู่ในอำนาจกฎหมายและอำนาจศาลสำหรับบ้านเมืองแต่อย่างเดียวทั่วกัน..."

Somyot Chueathai, an associate professor at the Faculty of Law, Thammasat University, แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการที่รัฐบาลสยามตัดสินใจจัดทำประมวลกฎหมายบ้านเมืองในครั้งนั้นว่า เป็นการพลิกระบบกฎหมายที่ใช้อยู่ในครั้งนั้นจากหน้ามือเป็นหลังมือทีเดียว เพราะเป็นการเปลี่ยนจากระบบคอมมอนลอว์ที่กฎหมายมาจากบรรทัดฐานที่ศาลกำหนด ไปเป็นระบบซีวิลลอว์ (civil law system) ที่กฎหมายมาจากกระบวนการนิติบัญญัติ โดยเขากล่าวว่า[5]

"...การตัดสินใจทำประมวลกฎหมายครั้งนี้นับว่ามีความหมายในทางประวัติศาสตร์กฎหมายของไทยเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการเปลี่ยนระบบกฎหมายจากการรับกฎหมายอังกฤษเข้ามาใช้ ซึ่งได้ปฏิบัติกันมาเป็นเวลาครึ่งศตวรรษ...มีความหมายว่าประเทศไทยหันเหจากการรับระบบคอมมอนลอว์ของอังกฤษมาใช้ เปลี่ยนไปรับระบบซีวิลลอว์ซึ่งเป็นระบบกฎหมายของภาคพื้นยุโรปที่มีนิติวิธีที่แตกต่างและตรงกันข้ามกับระบบคอมมอนลอว์ การที่ประเทศไทยประกาศใช้ประมวลกฎหมายจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงจากระบบกฎหมายหนึ่งไปอีกระบบหนึ่งทีเดียว..."

Commencement of the drawing up of the Civil and Commercial Code

Having decided to codify the national laws, the Siamese Government obtained and promulgated the Siamese Penal Code in 1908 as the first legal code of the Country. The Government began to draft a "civil and commercial code" as the next plan, as appeared in the preamble of King Vajiravudh that:[6]

"The prevaling civil and commercial laws are now all over the place and, therefore, should be gathered up and systematised according to the changes of national circumstance, advancement and commercial affairs as well as foreign relationship. Also, certain principles of civil and commercial laws applied by the courts to the trial and adjudication of their cases on basis of the tradition of justice are expedient to be enacted firmly, for the reason that there is no any law applicable to the civil and commercial affairs...The way by which the said wish would be reached is to codify and enact the aforementioned laws as a civil and commercial code as practiced in other states..."

The King appointed a drafting committee of which all members were French, for the reason that, at the time, "...French power was much engulfing Siam..."[7] The appointed drafting committee consisted of:[8]

No. From Name Position
1. France Georges Padoux Chairperson
2. France Maurice Henri Louis Lecompte-Moncharville Member
3. France René Guyon Member
4. France Louis Rivière Member
5. France Segnitz Member
6. France Laforcade Member
7. France Charles L'Evêques Member

In 1908, the drafting committee began its work from laying general structure of the code. It initially intended to draw up two legal codes: the one governing laws of obligation, and the other one, other civil laws, as in Switzerland, Tunizia and Morocco at that time. Eventually, the committee resolved to have a single code governing both civil and commercial laws.[9] In 1914, Georges Padoux travelled back to Europe and Délestrée was appointed to substitute him. But it was a great mischance that, not only unable to direct the codification, Délestrée dismantled the work previously rendered by Padoux, putting the committee into turmoil. When Padoux came back to Bangkok in 1916, he was taken aback that, in spite of his well-arranged path, the law drafting work has been obfuscated to such extent. Following a tête-à-tête speak, Padoux could pursuade Délestrée to resign from the chairpersonhood and he was appointed back to the post once again with the continuation of the codification. At last, Siam acquired the first two Books of the Civil and Commercial Code which were Book 1 General Principles and Book 2 Obligation.[10] It should be noticed that the Siamese Government lost THB 770,000 budgets and merely got two Books of the Code in return.[11]

The said two Books were firstly made in English prior to having been translated into Thai by a language arrangement committee consisting of:[8]

[[ไฟล์:พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร.jpg|thumb|หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากร|right|170px]]

No. From Name Position
1. Thailand Prince Charunsak Kruedakon (พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร) Chairperson
2. Thailand Prince Sawatdisophon Krommaphra Sawatdiwatwisit (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์) Member
3. Thailand Luang Sakonsattayathon (หลวงสกลสัตยาทร) Member
4. England Phraya Kanlayanamaitri (James Iverson Westengard) (ระยากัลยาณไมตรี (เจมส์ ไอเวอร์สัน เวสเตนการ์ด)) Member
5. England Skinner Turner Member
6. Japan Phraya Mahithon Manupakon Kosonlakun (Tokichi Masao) (政尾藤吉) Member
7. Sri Lanka Phraya Atthakaraprasit (William Alfred Kunatelake) Member

อย่างไรก็ดี ในที่ประชุมของคณะกรรมการชุดนี้มีความแตกแยกกันทางความคิดเห็นอย่างรุนแรง หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากร ทรงเกรงว่าหากดำเนินการประชุมต่อไปจะเกิดบาดหมางกันใหญ่โต จึงทรงสั่งเลิกประชุม และไม่มีการประชุมอีกเป็นระยะหนึ่ง[12] จนกระทั่งหม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ทรงลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมใน พ.ศ. 2451 นั้น โดยสาเหตุคาดว่ามาจากความขัดแย้งดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (หม่อมราชวงศ์ลบ สุทัศน์) ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมคนใหม่ และรับหน้าที่ประธานคณะกรรมการชุดนี้ต่อไป[13]

คณะกรรมการร่างกฎหมายชุดที่สอง

[[ไฟล์:พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ.jpg|170px|thumb|right|สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์]]

ในปีเดียวกันนั้น พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้คณะกรรมการร่างกฎหมายที่ประกอบด้วยชาวฝรั่งเศสทั้งหมดพ้นจากตำแหน่ง และทรงแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เพื่อจัดการกับร่างเดิมทั้งสองบรรพให้เรียบร้อย ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้[14] และมีการกำหนดอัตราเงินเดือนกรรมการยกร่างชุดนี้ไว้อย่างชัดเจนด้วย โดยกรรมการชาวต่างประเทศให้ได้รับเงินเดือนอย่างสูงเดือนละ 1,800 บาท หากได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการแล้วจะได้เดือนละ 2,000 บาท ขณะที่กรรมการฝ่ายสยามได้เดือนละ 400 บาทเฉพาะเดือนที่ปฏิบัติหน้าที่[15]

ที่ ชาติ ชื่อ ตำแหน่ง
1. Thailand สยาม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ประธานกรรมการ
2. Thailand สยาม มหาอำมาตย์โท พระยานรเนติบัญชากิจ (ลัด เศรษฐบุตร) กรรมการ
3. Thailand สยาม พระยาจินดาภิรมย์ราชสภาบดี (จิตร ณ สงขลา) กรรมการ
4. Thailand สยาม พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี (บุญช่วย วณิกกุล) กรรมการ
5. France ฝรั่งเศส เรอเน กียง (René Guyon) กรรมการ
6. France ฝรั่งเศส ลาฟอร์กาด (Laforcade) กรรมการ
7. France ฝรั่งเศส ชาร์ล เลแว็ก (Charles L'Evêques) กรรมการ

แนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการชุดใหม่ เรอเน กียง บันทึกว่า[16]

"จุดหมายของผู้ร่างนั้น ในสาระสำคัญก็คือ ร่างกฎหมายให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ด้วยเหตุนี้ ผู้ร่างจึงพยายามอย่างยิ่งที่จะไม่ตกหลุมพรางของการคัดลอกบทบัญญัติของกฎหมายต่างประเทศแล้วนำมาดัดแปลงเอาอย่างเพียงผิวเผิน ไม่ว่าบทกฎหมายต่างประเทศนั้น ๆ จะประเสริฐเลิศเลอเพียงใดก็ตาม สำหรับการร่างกฎหมายแต่ละลักษณะ ๆ นั้น ผู้ร่างจะเริ่มต้นด้วยการศึกษาเรื่องนั้น ๆ อย่างกว้าง ๆ ก่อนโดยดูจากตัวบทกฎหมายของสยามที่มีอยู่ (พระราชบัญญัติ หรือคำพิพากษา) และจากประมวลกฎหมายสำคัญ ๆ ของต่างประเทศ เช่น ในแง่ของความชัดเจนจะดูจากประมวลกฎหมายฝรั่งเศส หลักกฎหมายบางอย่างดูจากกฎหมายอังกฤษบางฉบับซึ่งนักกฎหมายสยามส่วนมากรู้จักเป็นอย่างดี ในแง่ของบทบัญญัติที่สะดวกในการใช้และทันสมัยจะดูจากประมวลกฎหมายของสวิสและญี่ปุ่น ในแง่ของความกระชับรัดกุมด้วยเทคนิคทางกฎหมายก็จะดูจากประมวลกฎหมายเยอรมัน นอกจากนั้นก็ยังได้นำเอาข้อเปลี่ยนแปลงแก้ไขที่ได้มีขึ้นในกฎหมายของอิตาลี เบลเยียม ฮอลันดา และบางรัฐ[17] ในอเมริกามาเป็นข้อพิจารณาด้วย ในกรณีที่มีทางที่จะบัญญัติเรื่องใดเรื่องหนึ่งไปได้หลาย ๆ แนวทาง คณะกรรมการจะเลือกแนวทางที่มีผลในทางปฏิบัติมากที่สุดสอดคล้องกับความจำเป็นสมัยใหม่ที่สุด ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการจึงพยายามอย่างยิ่งที่จะใช้ประโยชน์จากประสบการณ์และภูมิปัญญาของประเทศที่ได้มีประมวลกฎหมายมาก่อน มากกว่าที่จะลอกเลียนตาม ๆ กันไปดังเป็นทาสทางปัญญา..."

แม้จะมีการวางแนวทางไว้เช่นนั้น ทว่า การดำเนินงานก็มิใช่ง่าย เนื่องจากในการหยิบยกบทกฎหมายของไทยแต่เดิมขึ้นมาพิจารณาประกอบนั้น ตัวบทกฎหมายทางวิธีพิจารณาความและทางอาญามีมากกว่าทางแพ่งและพาณิชย์ ประกอบกับใน พ.ศ. 2462 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ได้ทรงลาออกจากตำแหน่งประธานกรรมการ และเจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (หม่อมราชวงศ์ลบ สุทัศน์) เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ได้รับตำแหน่งแทน[18] อนึ่ง ยังมีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีกหลายคณะจนเฝือ เช่น คณะกรรมการช่วยยกร่าง คณะกรรมการตรวจคำแปลให้ถูกต้องทั้งด้านกฎหมายและการใช้ภาษา[19] เป็นผลให้งานร่างกฎหมายเป็นไปอย่างติด ๆ ขัด ๆ และการติดต่อประสานงานกันระหว่างคณะกรรมการทั้งหลายเป็นไปอย่างล่าช้า มีความคืบหน้าน้อยมาก[20]

คณะกรรมการร่างกฎหมายชุดที่สาม

[[ไฟล์:จิตร ณ สงขลา 2.jpg|170px|right|thumb|พระยาจินดาภิรมย์ราชสภาบดี (จิตร ณ สงขลา)]]

เมื่อเห็นว่าการจัดทำประมวลกฎหมายในประเทศสยามไม่คืบหน้า ใน พ.ศ. 2465 รัฐบาลฝรั่งเศสจึงเรียกร้องให้ไทยเร่งปรับปรุงระบบกฎหมายภายในประเทศอย่างไม่ชักช้าด้วยการจัดตั้งกรมร่างกฎหมายขึ้นทำหน้าที่เฉพาะโดยกำหนดให้เป็นเงื่อนไขที่ไทยจะต้องปฏิบัติตามเพื่อขอเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ในปีถัดมา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้ยกฐานะคณะกรรมการร่างกฎหมายขึ้นเป็นกรมร่างกฎหมาย สังกัดกระทรวงยุติธรรม มีอำนาจหน้าที่ร่างกฎหมายแต่โดยลำพัง และให้มีคณะกรรมการร่างกฎหมายชุดใหม่ ประกอบด้วย[21]

ที่ ชาติ ชื่อ ตำแหน่ง
1. Thailand สยาม เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (หม่อมราชวงศ์ลบ สุทัศน์) ประธานกรรมการ
2. Thailand สยาม มหาอำมาตย์โท พระยานรเนติบัญชากิจ (ลัด เศรษฐบุตร) กรรมการ
3. Thailand สยาม พระยาจินดาภิรมย์ราชสภาบดี (จิตร ณ สงขลา) กรรมการ
4. Thailand สยาม พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี (บุญช่วย วณิกกุล) กรรมการ
5. Thailand สยาม พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) กรรมการ
6. France ฝรั่งเศส เรอเน กียง (René Guyon) กรรมการ
7. France ฝรั่งเศส อองรี เรมี เดอ ปล็องเตอโรส (Henri Rémy de Planterose) กรรมการ
8. France ฝรั่งเศส เรอเน กาโซ (René Cazeau) กรรมการ

การประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพแรก และคณะกรรมการร่างกฎหมายชุดที่สี่

[[ไฟล์:พระยามานวราชเสวี.jpg|170px|left|พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)|thumb]]

การดำเนินงานโดยเอกัตภาพของกรมร่างกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การตรวจชำระร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 และบรรพ 2 เสร็จสิ้นลงใน พ.ศ. 2466 ทว่า ร่างทั้งสองกลับมิใช่ร่างที่สมบูรณ์แบบ เพราะเดิมนั้นจัดทำเป็นภาษาอังกฤษก่อนจะแปลเป็นภาษาไทย แต่ก็แปลมาตรงตัวเลยทีเดียว กรรมการร่างกฎหมายฝ่ายที่เป็นชาวสยามอ่านแล้วไม่เข้าใจ คณะกรรมการร่างกฎหมายจึงลงมติว่าควรจัดพิมพ์และแจกจ่ายร่างฉบับดังกล่าวให้บรรดาผู้พิพากษาสุภาตุลาการทนายความและนักกฎหมายทั้งหลายได้อ่านเสียก่อน เพื่อหยั่งฟังเสียงดูความเห็นของพวกเขา[22]

ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชโองการให้ประกาศประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 หลักทั่วไป และบรรพ 2 หนี้ ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 แต่ให้มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มกราคม ปีถัดไป ปรากฏว่าประชาชนชาวไทยโดยเฉพาะหมู่ผู้พิพากษาและทนายความวิพากษ์วิจารณ์ว่า "อ่านแล้วไม่เข้าใจ ไม่รู้เรื่อง"[23]

ใน พ.ศ. 2523 พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) หนึ่งในกรรมการร่างกฎหมาย ในวัย 90 ปี เปิดเผยถึงสาเหตุที่ทำให้การประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แค่บรรพแรก ๆ กินเวลาถึง 15 ปี ซ้ำยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ภายหลังอีก ว่า[24]

"...ตอนที่ทำโค๊ดแพ่ง ฝรั่งเขาขอเป็นผู้ร่างให้...เขาเสนอแบบ 3 บรรพอย่างโค๊ดฝรั่งเศส ร่างกันอยู่เป็นนานก็ยังไม่แล้วสักที จนกระทั่งผมกลับจากอังกฤษ ก็ยังไม่แล้ว...ผมได้อ่านร่างกฎหมายแล้วรู้สึกว่าไม่เข้าใจ เขียนกฎหมายไม่กินเกลียวกัน...เวลานั้นในหลวงทรงแต่งตั้งกรรมการที่เป็นเจ้านายมาเป็นกรรมการตรวจศัพท์ภาษา กรรมการท่านอ่านก็ไม่เข้าใจ แต่ไม่ได้ว่าอะไร ก็ในสมัยนั้นเรายังกลัวฝรั่งเศสอยู่เพราะมีอำนาจมาก เมื่ออ่านไม่เข้าใจ ในหลวงท่านก็ถามผมว่าจะเอาอย่างไร ที่สุดผมจึงทูลในหลวงว่า ชุดนี้เห็นจะไม่ได้การ เห็นสมควรให้มีการเปลี่ยนกรรมการร่างกฎหมายใหม่ ซึ่งอันที่จริงแล้ว คนที่มาเขียนกฎหมายให้เรานั้นมือยังไม่ถึงขั้น เวลาเขียนไปมันเลยไม่กินเกลียวกัน ในที่สุด กรรมการร่างกฎหมายต้องออกเกือบหมด เพราะเหตุที่ร่างแล้วยุ่งกันไปหมด..."

[[ไฟล์:Reichsgesetzblatt 1896 Seite 195.png|170px|right|thumb|เบือร์แกร์ลิชส์เกเซทซ์บุค ประกาศในรัฐกิจจานุเบกษาเยอรมัน ลงวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1896 (พ.ศ. 2439)]]

และแล้ว ใน พ.ศ. 2466 นั้นเอง ก็มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่างกฎหมายขึ้นใหม่อีกครั้งเป็นครั้งที่ 4 โดยชุดนี้ประกอบด้วย มหาอำมาตย์โท พระยานรเนติบัญชากิจ (ลัด เศรษฐบุตร) เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) และเรอเน กียง (René Guyon) คณะกรรมการได้ประชุมปรึกษากันเพื่อหาวิธีการให้งานร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดำเนินไปโดยตลอดรอดฝั่ง ซึ่งครั้งนั้น พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) เสนอว่า จากเดิมที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส (Code civil des Français) ซึ่งมี 3 บรรพ เป็นแม่แบบ ควรเปลี่ยนมาใช้ เบือร์แกร์ลิชส์เกเซทซ์บุค (Bürgerliches Gesetzbuch) หรือประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน เป็นแม่แบบแทน ด้วยการลอก มินโป (民法, Minpō) หรือประมวลกฎหมายแพ่งแห่งญี่ปุ่น ที่ยกร่างโดยอาศัยเบือร์แกร์ลิชส์เกเซทซ์บุคเป็นแม่แบบก่อนแล้ว ประกอบกับการใช้ซีวิลเกเซทซ์บุค (Zivilgesetzbuch) หรือประมวลกฎหมายแพ่งสวิส เป็นแม่แบบอีกฉบับหนึ่ง แต่เพื่อไม่ให้เสียไมตรีกับทางฝรั่งเศส จึงนำเอาบทบัญญัติบางช่วงบางตอนจากประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสและจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับเดิมที่ประกาศใน พ.ศ. 2466 มาประกอบด้วย[2] ที่สุดก็ได้ร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพแรก ๆ ที่สมบูรณ์ใน พ.ศ. 2468

ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชกฤษฎีกาโดยพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้ยกเลิกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 และบรรพ 2 ที่ประกาศไว้แต่เดิมเสียสิ้น และให้ใช้ฉบับที่ได้ตรวจชำระใหม่แทน ตามที่ปรากฏในพระราชปรารภว่า[25]

"จำเดิมแต่ได้ออกประกาศประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 และ 2 แต่วันที่ 11 พฤศจิกายน พระพุทธศักราช 2466 เป็นต้นมา ได้มีความเห็นแนะนำมากหลายเพื่อยังประมวลกฎหมายนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

และเมื่อได้พิจารณาโดยถ่องแท้แล้ว เห็นเป็นการสมควรให้ตรวจชำระบทบัญญัติในบรรพ 1 และ 2 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นใหม่

จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า บทบัญญัติเดิมในบรรพ 1 และ 2 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ประกาศไว้แต่ ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน พระพุทธศักราช 2466 นั้น ให้ยกเลิกเสียสิ้น และใช้บทบัญญัติที่ได้ตรวจชำระใหม่ต่อท้ายพระราชกฤษฎีกานี้แทนสืบไป

อนึ่ง หยุด แสงอุทัย ศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้เหตุผลอีกประการหนึ่งของการยกเลิกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 และบรรพ 2 เดิม ก่อนให้ใช้ที่ตรวจชำระใหม่นั้น ว่า[26]

"...เมื่อได้นำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 และบรรพ 2 ที่ถูกยกเลิกมาเปรียบเทียบกับกฎหมายปัจจุบัน ก็ปรากฏว่า กฎหมายเก่าได้ร่างขึ้นโดยเทียบเคียงจากกฎหมายฝรั่งเศสและสวิสซึ่งใช้หลัก 'สัญญา' เป็นหลักทั่วไป ซึ่งอาจถือได้ว่าล่วงพ้นสมัย ส่วนกฎหมายปัจจุบันนั้นใช้หลัก 'นิติกรรม' เป็นหลักทั่วไป โดยเทียบมาจากกฎหมายเยอรมันและญี่ปุ่น ซึ่งนับว่าเป็นกฎหมายที่ทันสมัยกว่า เพราะได้บัญญัติขึ้นหลังกฎหมายฝรั่งเศสตั้งเกือบร้อยปี นอกจากนี้ ยังปรากฏว่ามีข้อขาดตกบกพร่องในกฎหมายเก่าอีกมาก แต่ทั้งนี้ ไม่ควรจะถือว่าการทำประมวลกฎหมายฉบับที่ถูกยกเลิกไม่อำนวยประโยชน์เสียเลย เพราะได้ทำให้การทำประมวลกฎหมายแพ่ง บรรพ 1 และบรรพ 2 ฉบับปัจจุบัน สำเร็จได้รวดเร็วยิ่งขึ้น"

สอดคล้องกับที่ สมยศ เชื้อไทย รองศาสตราจารย์คณะเดียวกัน แสดงความคิดเห็นว่า[27]

"การเปลี่ยนแปลงครั้งหลังนี้มีข้อสังเกตว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง เพราะเป็นการตัดสินใจเปลี่ยนจากการใช้ประมวลกฎหมายตามอย่างประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสมาใช้ประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน ซึ่งระบบประมวลกฎหมายแพ่งของฝรั่งเศสและของเยอรมันแม้ต่างก็เป็นระบบซีวิลลอว์ด้วยกัน แต่ก็ยังมีนิติวิธีที่แตกต่างในข้อสำคัญหลายประการ ทั้งนี้ เพราะประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมันได้รับอิทธิพลจากสำนักประวัติศาสตร์ (Historical School) ซึ่งสำนักนี้ถือว่าส่วนสำคัญของกฎหมายนั้นมาจากขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี ประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมันจึงเน้นความสำคัญของจารีตประเพณี ตรงกันข้ามกับฝรั่งเศส ซึ่งถือกฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นสำคัญและมีความคิดเป็นปฏิปักษ์ต่อจารีตประเพณี จะใช้จารีตประเพณีมาชี้ขาดตัดสินได้ก็เฉพาะกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งแล้วเท่านั้น ทั้งนี้ เพราะประมวลกฎหมายของฝรั่งเศสได้รับอิทธิพลมาจากสำนักกฎหมายธรรมชาติ (Natural Law School) และความคิดของกระบวนการปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศสเมือปี ค.ศ. 1789"

การจัดทำและประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพอื่น ๆ

ภายหลังจากการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 และบรรพ 2 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พร้อมกับการประกาศใช้บรรพ 3 ในเวลาเดียวกันเมื่อ พ.ศ. 2468 กรมร่างกฎหมายซึ่งวิวัฒนามาเป็นคณะกรรมการกฤษฎีกาในปัจจุบันก็รับหน้าที่ร่างประมวลกฎหมายสืบต่อมา โดยในการร่างบรรพอื่น ๆ นั้น แม้จะมีประมวลกฎหมายแพ่งของชาติอื่น ๆ ในระบบซีวิลลอว์เป็นแม่แบบ แต่หลักกฎหมายของระบบคอมมอนลอว์ที่เคยใช้อยู่แต่เดิมก็ยังมีอิทธิพลอยู่ไม่น้อย นอกจากนี้ การรับกฎหมายของต่างชาติเข้าหาได้หยิบยกมาทั้งหมด ทว่า ได้ปรับให้เหมาะสมกับสังคมไทย[28] ดังที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสเป็นแนวทางไว้ในพระราชพิธีเปิดรัฐมนตรีสภา เมื่อวันที่ 24 มกราคม ร.ศ. 113 (พ.ศ. 2437) ว่า[29]

"...บางทีก็มีอยู่เนือง ๆ ที่ท่านทั้งหลายจะต้องค้นหาเทียบเคียงกฎหมายต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในเมืองต่างประเทศแลหัวเมืองของเมืองต่างประเทศทั้งหลายที่มีเฉพาะสำหรับกับบ้านเมืองเราอยู่นี้เป็นสำคัญเป็นนิตย์ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เราไม่ควรที่จะเปลี่ยนแปลงฤๅจะจัดการแก้ไขธรรมเนียมที่มีอยู่ทุกวันนี้ให้ใหม่ไปหมดสิ้นทีเดียว แลไม่ควรที่จะหลับตาเอาอย่างทำตามธรรมเนียมที่มีในที่อื่น หากว่าเราจะต้องค่อย ๆ ทำการให้ดีขึ้นโดยลำดับในการที่เป็นสิ่งต้องการจะจัดให้ดีแล้ว แลเลิกถอนแต่สิ่งที่เห็นเป็นแน่แท้ว่าไม่ดีฤๅเป็นของใช้ไม่ได้แล้วเท่านั้น ทุกเมืองอื่น ๆ แลในเมืองนี้เป็นสำคัญทั้งสิ้นย่อมมีธรรมเนียมหลายอย่างซึ่งเป็นที่จะต้องนับถือกัน ไม่ใช่เพราะว่าเป็นธรรมเนียมเก่าแก่มาแต่โบราณเสมอกับอายุของประเทศอย่างเดียว หากเพราะว่าเป็นธรรมเนียมที่สนิทแน่นแฟ้นแก่น้ำใจและความเชื่อมั่นของอาณาประชาชน แลเพราะว่าถ้าจะเลิกถอนธรรมเนียมเช่นนี้เสียแล้ว ก็จะไม่เป็นแต่เพียงที่จะเป็นภัยเกิดขึ้นแก่เมืองที่ตั้งอยู่ได้อย่างเดียว หากกระทำให้อาณาประชาราษฎร์ไม่เป็นผาสุกด้วย..."

บานแพนก กฎหมายตราสามดวง ประทับตราพระราชสีห์ ตราพระคชสีห์ และตราบัวแก้ว|170px|left|thumb

ดังนั้น ในการจัดทำประมวลกฎหมายในครั้งนั้น คณะกรรมการร่างกฎหมายจึงคำนึงเสมอว่าบทบัญญัติแต่ละเรื่องเหมาะสมกับสภาพสังคมไทยหรือไม่ โดยเฉพาะในการร่างบรรพ 4 ว่าด้วยครอบครัว และบรรพ 5 ว่าด้วยมรดก ต้องใคร่ครวญกันอย่างหนักทีเดียวเพราะครอบครัวตะวันตกและครอบครัวไทยนั้นต่างกันราวกับหน้ามือหลังมือ หลาย ๆ เรื่องจำต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตคนไทยไปจากเดิมก็ได้พยายามให้กระทบกระเทือนน้อยที่สุด เช่น การรับหลักการเรื่องผัวเดียวเมียเดียว (mongamy) เข้ามา ก็เพียงกำหนดว่าการจดทะเบียนสมรสซ้อน (bigamy) เป็นโมฆะ แต่ไม่ถึงกับเป็นความผิดอาญาเช่นในหลาย ๆ ประเทศ[30] และหลาย ๆ เรื่องก็รับเอาคุณธรรมของมนุษย์มาจากกฎหมายตราสามดวงมาโดยตรงทีเดียว ซึ่งไม่ปรากฏในกฎหมายของชาติใดอีกแล้ว เป็นต้นว่า ในเรื่องคดีอุทลุม ที่เป็นหลักการของความกตัญญูต่อบุพการีและผู้มีพระคุณ โดยกฎหมายตราสามดวง พระไอยการลักษณะรับฟ้อง มาตรา 25 บัญญัติว่า[31]

"ผู้ใดเป็นคนอุทลุม มิได้รู้คุณบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ตา ยาย แลมันมาฟ้องร้องให้เรียกบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยายมัน ท่านให้มีโทษทวนมันด้วยลวดหนังโดยฉกรรจ์ อย่าให้มันคนร้ายนั้นดูเยี่ยงอย่างกันต่อไป แล้วอย่าให้บังคับบัญชาว่ากล่าวคดีของมันนั้นเลย"

ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รับมาบัญญัติใน บรรพ 5 ครอบครัว, ลักษณะ 2 บิดามารดากับบุตร, หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตร, มาตรา 1562 ว่า

"ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทของผู้นั้นร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้"

ทั้งนี้ มาตรา 1562 ดังกล่าวยังใช้บังคับอยู่จนปัจจุบัน และพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2522 ให้นิยามของคำ "อุทลุม" ว่า "ผิดประเพณี, ผิดธรรมะ, นอกแบบ, นอกทาง, เช่น คดีอุทลุม คือคดีที่ลูกหลานฟ้องบุพการีของตนต่อศาล, เรียกลูกหลานที่ฟ้องบุพการีของตนต่อศาลว่า คนอุทลุม."[32]

เมื่อยกร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เสร็จเป็นบรรพ ๆ แล้ว ก็ได้มีการประกาศใช้ทีละบรรพไปตามลำดับ โดยบรรพ 4 มีผลใช้บังคับครั้งแรกโดยพระราชกฤษฎีกาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475 หลังจากนั้นมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศ บรรพ 5 และบรรพ 6 จึงมีผลใช้บังคับครั้งแรกโดยพระราชบัญญัติตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2478[33] จำเนียรกาลผ่านมาหลายศตวรรษ ตลอดช่วงระยะเวลาดังกล่าวได้มีการตรวจชำระ ยกเลิก ประกาศใช้ใหม่ และแก้ไขเพิ่มเติมซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หลายครั้งตามความเหมาะสมแห่งสถานการณ์ โดยตั้งแต่เริ่มมีผลใช้บังคับครั้งแรกใน พ.ศ. 2468 จวบจนถึงบัดนี้ ประมวลกฎหมายดังกล่าวมีอายุเกือบหนึ่งศตวรรษแล้ว

สถานการณ์ภายหลังการจัดทำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์สำเร็จ

[[ไฟล์:PPS 2.JPG|จอมพลแปลก พิบูลสงคราม|right|170px|thumb]]

หลังจากที่สยามได้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ครบทั้ง 6 บรรพเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2477 แล้ว รัฐบาลได้จัดให้มีการประมวลกฎหมายบ้านเมืองฉบับสำคัญ ๆ สืบต่อมาอีก ได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กับทั้งได้พยายามใช้การมีกฎหมายอันทันสมัยทัดเทียมนานาอารยประเทศนี้เจรจาขอยกเลิกบรรดาสนธิสัญญาเสียเปรียบทั้งหลายเสมอมา ซึ่งการเจรจาก็มิใช่เรื่องง่ายเลย ต้องขอบคุณสหรัฐอเมริกาที่มีน้ำใจกว้างขวางช่วยเหลือสยามในการนี้ทุกเมื่อ และยังได้ส่ง เอดเวิร์ด เฮนรี สตรอเบิล (Edward Henry Strobel) นักการทูตและนักวิชาการด้านกฎหมายระหว่างประเทศ เข้ามาเป็นกำลังสำคัญให้ไทย ทว่า ประเทศฝรั่งเศสนั้นได้พยายามใช้ชั้นเชิงทางการทูตบ่ายเบี่ยงเลี่ยงหลีกการยกเลิกสนธิสัญญากับสยาม ส่วนประเทศอังกฤษนั้นก็ไม่ใคร่จะให้มีการยกเลิกเช่นกัน แต่ใช้ชั้นเชิงที่แนบเนียนกว่าฝรั่งเศส ทำให้รัฐบาลสยามต้องสู้รบปรบมือทางด้านนโยบายกับสองประเทศนี้เป็นเวลานาน[34] ในที่สุด สยามก็ได้รับเอกราชทางการศาลคืนมาและยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของชาวต่างชาติเป็นผลสำเร็จใน พ.ศ. 2481 ภายใต้รัฐบาลของ จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศแปลก พิบูลสงคราม[35]

อย่างไรก็ดี แม้ว่าการจัดทำประมวลกฎหมายจะทำให้ประเทศสยามต้องเปลี่ยนระบบกฎหมายที่รับเข้ามาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) อันกฎหมายเกิดจากบรรทัดฐานที่ศาลพิพากษากำหนดไว้ หรือที่สมัยนั้นเรียก "วิธีกฎหมายจารีตธรรม" เป็นระบบซีวิลลอว์ (Civil Law System) อันกฎหมายเกิดจากกระบวนการนิติบัญญัติ หรือที่ในสมัยนั้นเรียก "วิธีกฎหมายประมวลธรรม" (Code System) แต่ในทางปฏิบัติที่ผ่านมา นักกฎหมายไทยยังติดอยู่กับนิติวิธีทางระบบคอมมอนลอว์อยู่มาก ซึ่งบรรดาผู้ยกร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เคยตระหนักถึงและแสดงความห่วงใยประเด็นนี้ไว้อยู่แล้ว ดังที่ ชอร์ช ปาดู (Georges Padoux) มีหนังสือถึง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ และพระองค์ก็ทรงเห็นด้วย กับทั้งได้มีลายพระหัตถ์ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2456 กราบบังทูลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า[36]

"ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานนำหนังสือความเห็นของมองสิเออปาดูซ์ว่าด้วยวิธีจัดการศึกษากฎหมายขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท

แลเค้าความเห็นอันนี้ มองซิเออปาดูซ์ได้เขียนยื่นแก่เสนาบดียุติธรรมไว้แล้วแต่รัตนโกสินทรศก 129 แต่หามีผลสำเร็จประการใดไม่ ข้าพระพุทธเจ้าได้ความสันนิษฐานเข้าใจเอาเองว่าจะเป็นด้วยประชุมแห่งเหตุหลายประการ จะรับพระราชทานสาธกแต่เหตุสำคัญอันหนึ่งว่า จำเดิมแต่รัฐบาลได้ปรารภร่างประมวลอาญาจนถึงได้ประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา พระเจ้าพี่ยาเธอกรมหลวงราชบุรีผู้ทรงตำแหน่งเสนาบดีในกาลนั้นไม่ทรงเห็นชอบด้วยวิธีกฎหมายประมวลธรรม (Code System) ซึ่งใช้อยู่ในคอนติเนนต์ยุโรป ฝ่ายเธอเป็นเนติบัณฑิตสำนักอังกฤษซึ่งใช้วิธีกฎหมายจารีตธรรม (Common Law System) ความปรากฏในครั้งนั้นอยู่บ้างว่า เธอเอาพระองค์ออกห่างจากการตรวจสอบแก้ไขประมวลอาญา แลได้กราบบังคมทูลพระกรุณาคัดค้านต้นร่างนั้น ถึงแก่ขอให้เลิกกรรมการฝรั่งเศสซึ่งร่างประมวลกฎหมายนั้นเสีย แลอาสาว่าจะควบคุมตั้งกรรมการขึ้นใหม่เพื่อร่างประมวลกฎหมายแพ่งอาญาให้ลงกับทำนองวิธีจารีตธรรม (Base on Common Law) ข้าพระพุทธเจ้ายอมรับอยู่ว่า การที่เธอทรงคัดค้านดังนี้นั้นเป็นความจริงใจด้วยมุ่งหมายความเจริญแก่พระนคร การอันนี้ถ้าทำได้สำเร็จจะเป็นอัศจรรย์มิใช่น้อย เพราะว่าการที่จะเอาจารีตธรรมอันเป็นพื้นประเพณีบ้านเมืองมาทำประมวลเป็นบทเป็นหมวดลงได้นั้นมิใช่ง่าย นิติบัณฑิตในสำนักอังกฤษและอเมริกาเองก็ยังแก่งแย่งกัน ยังมิอาจเห็นปรองดองลงกันได้ มิพักต้องกล่าวถึงว่าจะเป็นผลสำเร็จทันตาเห็น...

พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ผู้ทรงพระปัญญาญาณหยั่งเห็นกาลใกล้ไกล ทรงพระราชดำริชั่งได้ชั่งเสียในวิธีกฎหมายทั้ง 2 นั้นแล้ว พระราชทานพระราชวินิจฉัยไว้เป็นเด็ดขาดว่า พระราชกำหนดกฎหมายแก่งประเทศเราอันโบราณกระษัตราธิราชเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้สืบ ๆ มา มีบทมาตราเป็นลักษณะหมวดหมู่เป็นทำนองเดียวกันกับวิธีกฎหมายประมวลธรรม (System of Codified Law) ซึ่งใช้อยู่ในคอนติเนนต์นั้น ถ้าจะคุมเข้ากันแลผ่อนผันแก้ไขก็จะลงกันได้โดยสะดวก...

ครั้นเมื่อข้าพระพุทธเจ้ากับกรรมการมีชื่อรับพระราชทานประชุมปรึกษาตรวจสอบแก้ร่างประมวลแพ่งจนจะสำเร็จลงในเดือนธันวาคมนั้น มองสิเออปาดูซ์จึงได้ร้องขอให้ข้าพระพุทธเจ้าพิจารณาพิเคราะห์ถึงวิธีศึกษาวิชากฎหมายว่า บัดนี้ถึงเวลาจำเป็นแล้วที่จะพึงดำริจัดการให้เข้าทำนองวิธีสั่งสอนฝ่ายคอนติเนนต์ คือ กฎหมายประมวลธรรม สำแดงเหตุว่าวิธีทั้ง 2 ผิดกันหลายประการ แลรัฐบาลจะออกประกาศให้ใช้กฎหมายวิธีประมวลธรรมนี้ แต่ผู้พิพากษาตุลาการจะไม่ชำนาญในวิธีนั้นจะบังคับอรรถคดีให้ถูกต้องโดยทำนองมิได้ ย่อมจะบังเกิดเป็นความลำบากใหญ่แก่ราชการศาลสถิตยุติธรรม ข้าพระพุทธเจ้าได้สนทนาปรึกษาด้วยมองสิเออปาดูซ์กับพระยาจักรปาณีเป็นต้น เห็นด้วยเกล้าฯ ว่า ถึงกาลจำเป็นจะทิ้งรารอไว้ดังนี้มิได้ ควรจะตระเตรียมดัดแปลงการโรงเรียนให้ลงร่องลงรอยกลมกลืนกับทำนองนี้จึงจะทันท่วงที ข้าพระพุทธเจ้าจึงสั่งให้มองสิเออปาดูซ์รวบรวมความเห็นที่ได้เขียนไว้เดิม ตกเติมเพิ่มข้อความลงให้กระจ่างเป็นฉบับเดียวกันมายื่น เพื่อได้นำขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานเรียนพระราชปฏิบัติ..."

แม้บรรดากรรมการร่างกฎหมายจะแสดงความเป็นห่วงเพียงนั้น แต่อิทธิพลของระบบคอมมอนลอว์ยังส่งผลต่อประเทศไทยมาก ทำให้การใช้กฎหมายไทยเป็นสันเป็นดอนตลอดมา ดังที่ แสวง บุญเฉลิมวิภาศ ศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า[37]

"...ตลอดเวลาที่ผ่านมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน ก็ยังคงมีปัญหาในการทำความเข้าใจหลักกฎหมายที่ปรากฏอยู่เบื้องหลังตัวบท การนำหลักกฎหมายคอมมอนลอว์มาตีความประมวลกฎหมายยังปรากฏอยู่ในคำสอนทางตำราและในแนวคำพิพากษาของศาล ความเข้าใขที่คลาดเคลื่อนในหลาย ๆ เรื่องส่งผลโดยตรงให้นักกฎหมายไทยส่วนหนึ่งใช้ประมวลกฎหมายอย่างขาดความเข้าใจที่แท้จริง

ในอีกมุมหนึ่ง การรับกฎหมายสมัยใหม่จากตะวันตกและละเลยคุณค่าที่มีอยู่ในกฎหมายไทยเดิม โดยเฉพาะความคิดที่ว่ากฎหมายคือธรรม แล้วหันมายึดถือความคิดแบบ Legal Positivism ที่ถือว่า กฎหมายคือคำสั่งของผู้ปกครองแผ่นดิน ยิ่งส่งผลโดยตรงให้นักกฎหมายกลายเป็นคนคับแคบ เดินตามผู้มีอำนาจ ตีความตามตัวอักษร คำตอบที่ออกมาในหลายเรื่องจึงไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในสังคม หนักไปกว่านั้นก็คือ การแยกว่ากฎหมายกับความยุติธรรมเป็นคนละเรื่องกัน

Lists of Promulgations and Amendments

List of Promulgations of Books of the Civil and Commercial Code

Book 1 General Principles 20px
No. Laws of Promulgation Grounds on Promulgation Dates of Coming into force
1
The Civil and Commercial Code WHEREAS His Majesty condisered that prevailing civil and commercial laws are now all over the place, they should be gathered and systematised according to the change of time, national development and commercial affairs as well as foreign relationship.

ส่วนหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งศาลยุติธรรมได้เคยยกขึ้นปรับสัตย์ตัดสินคดีเนือง ๆ มา โดยธรรมเนียมประเพณีอันควรแก่ยุติธรรมนั้น สมควรจะบัญญัติไว้ให้เป็นหลักฐาน และกิจการบางอย่างในส่วนแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งไม่มีในกฎหมายที่ใช้อยู่ ณ บัดนี้ ก็ควรจะบัญญัติขึ้นไว้ด้วย

และทรงพระราชดำริว่า ทางที่จะให้ถึงซึ่งผลอันนี้ ควรจะประมวลและบัญญัติบทกฎหมายที่กล่าวแล้ว เข้าเป็นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตามแบบอย่างซึ่งประเทศอื่น ๆ ได้ทำมา

อนึ่ง ทรงพระราชดำริว่า การชำระประมวลกฎหมายซึ่งทำอยู่ ณ บัดนี้ ได้ดำเนินไปมากแล้ว สมควรจะประกาศให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ส่วนที่สำคัญและเป็นประโยชน์ตอนหนึ่งก่อนได้ ส่วนอื่น ๆ เมื่อสำเร็จบริบูรณ์จะได้ประกาศให้ใช้เพิ่มเติมในภายหลัง
วันประกาศใช้ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466
วันใช้ 1 มกราคม พ.ศ. 2468
(พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บรรพ 3 และเลื่อนเวลาใช้บรรพ 1 และ 2 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 2 "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 1 และ 2 ที่ได้ประกาศให้ใช้ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2467 นั้น ให้เลื่อนไปใช้ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2468")
2
พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 และบรรพ 2 ที่ได้ตรวจชำระใหม่
(ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 42/หน้า 1/11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)
จำเดิมแต่ได้ออกประกาศประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 และ 2 แต่วันที่ 11 พฤศจิกายน พระพุทธศักราช 2466 เป็นต้นมา ได้มีความเห็นแนะนำมากหลายเพื่อยังประมวลกฎหมายนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

และเมื่อได้พิจารณาโดยถ่องแท้แล้ว เห็นเป็นการสมควรให้ตรวจชำระบทบัญญัติในบรรพ 1 และ 2 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นใหม่
วันประกาศพระราชกฤษฎีกา 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468
วันใช้ประมวลกฎหมาย 1 มกราคม พ.ศ. 2468
3
พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535
(ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 169/ตอนที่ 42/หน้า 1/8 เมษายน พ.ศ. 2535)
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากบทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งได้ใช้บังคับโดยพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 1 และบรรพ 2 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2468 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานและบทบัญญัติหลายประการล้าสมัย ไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน สมควรปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ วันใช้พระราชบัญญัติ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2535
(มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป)
วันใช้ประมวลกฎหมาย 7 มิถุนายน พ.ศ. 2535
(มาตรา 3)
บรรพ 2 หนี้ 20px
ครั้งที่ กฎหมายที่ให้ประกาศใช้ เหตุผลในการประกาศใช้ วันใช้บังคับ
1
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทรงพระราชดำริว่า กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ใช้อยู่เวลานี้ยังกระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง สมควรจะนำมารวมรวมไว้แห่งเดียวกัน และจัดเข้าเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้สมแก่กาลสมัย ความเจริญและพาณิชยกรรมแห่งบ้านเมือง และความสัมพันธ์กับนานาประเทศ

ส่วนหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งศาลยุติธรรมได้เคยยกขึ้นปรับสัตย์ตัดสินคดีเนือง ๆ มา โดยธรรมเนียมประเพณีอันควรแก่ยุติธรรมนั้น สมควรจะบัญญัติไว้ให้เป็นหลักฐาน และกิจการบางอย่างในส่วนแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งไม่มีในกฎหมายที่ใช้อยู่ ณ บัดนี้ ก็ควรจะบัญญัติขึ้นไว้ด้วย

และทรงพระราชดำริว่า ทางที่จะให้ถึงซึ่งผลอันนี้ ควรจะประมวลและบัญญัติบทกฎหมายที่กล่าวแล้ว เข้าเป็นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตามแบบอย่างซึ่งประเทศอื่น ๆ ได้ทำมา

อนึ่ง ทรงพระราชดำริว่า การชำระประมวลกฎหมายซึ่งทำอยู่ ณ บัดนี้ ได้ดำเนินไปมากแล้ว สมควรจะประกาศให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ส่วนที่สำคัญและเป็นประโยชน์ตอนหนึ่งก่อนได้ ส่วนอื่น ๆ เมื่อสำเร็จบริบูรณ์จะได้ประกาศให้ใช้เพิ่มเติมในภายหลัง
วันประกาศใช้ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466
วันใช้ 1 มกราคม พ.ศ. 2468
(พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บรรพ 3 และเลื่อนเวลาใช้บรรพ 1 และ 2 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 2 "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 1 และ 2 ที่ได้ประกาศให้ใช้ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2467 นั้น ให้เลื่อนไปใช้ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2468")
2
พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 และบรรพ 2 ที่ได้ตรวจชำระใหม่
(ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 42/หน้า 1/11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)
จำเดิมแต่ได้ออกประกาศประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 และ 2 แต่วันที่ 11 พฤศจิกายน พระพุทธศักราช 2466 เป็นต้นมา ได้มีความเห็นแนะนำมากหลายเพื่อยังประมวลกฎหมายนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

และเมื่อได้พิจารณาโดยถ่องแท้แล้ว เห็นเป็นการสมควรให้ตรวจชำระบทบัญญัติในบรรพ 1 และ 2 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นใหม่
วันประกาศพระราชกฤษฎีกา 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468
วันใช้ประมวลกฎหมาย 1 มกราคม พ.ศ. 2468
บรรพ 3 เอกเทศสัญญา 20px
ครั้งที่ กฎหมายที่ให้ประกาศใช้ เหตุผลในการประกาศใช้ วันใช้บังคับ
1
พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บรรพ 3 และเลื่อนเวลาใช้บรรพ 1 และ 2 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยที่การประมวลกฎหมายบ้านเมืองได้ดำเนินมาถึงคราวที่ควรใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 วันประกาศพระราชกฤษฎีกา 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468
วันใช้ประมวลกฎหมาย 1 มกราคม พ.ศ. 2468
2
พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ที่ได้ตรวจชำระใหม่
(ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 45/หน้า 1/1 มกราคม พ.ศ. 2471)
จำเดิมแต่ได้ออกประกาศประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 แต่วันที่ 1 มกราคม พุทธศักราช 2467 เป็นต้นมา ได้มีความเห็นแนะนำมากหลายเพื่อยังประมวลกฎหมายนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

และเมื่อได้พิจารณาโดยถ่องแท้แล้ว เห็นเป็นการสมควรให้ตรวจชำระบทบัญญัติในบรรพ 3 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นใหม่
วันประกาศพระราชกฤษฎีกา 1 มกราคม พ.ศ. 2471
วันใช้พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน พ.ศ. 2471
วันใช้ประมวลกฎหมาย 1 เมษายน พ.ศ. 2471
บรรพ 4 ทรัพย์สิน 20px
ครั้งที่ กฎหมายที่ให้ประกาศใช้ เหตุผลในการประกาศใช้ วันใช้บังคับ
1
พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 47/หน้า 442/18 มีนาคม พ.ศ. 2473)
โดยที่การประมวลกฎหมายบ้านเมืองได้ดำเนินมาถึงคราวที่ควรประกาศใช้บรรพ 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วันประกาศพระราชกฤษฎีกา 16 มีนาคม พ.ศ. 2473
วันใช้พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน พ.ศ. 2473
วันใช้ประมวลกฎหมาย 1 เมษายน พ.ศ. 2473
บรรพ 5 ครอบครัว 20px
ครั้งที่ กฎหมายที่ให้ประกาศใช้ เหตุผลในการประกาศใช้ วันใช้บังคับ
1
พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477
(ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52/หน้า 474/29 พฤษภาคม พ.ศ. 2478)
โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า การประมวลกฎหมายแห่งบ้านเมืองได้ดำเนินมาถึงคราวที่ควรใช้บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วันใช้พระราชบัญญัติ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2478
(มาตรา 2 ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป)
วันใช้ประมวลกฎหมาย 1 ตุลาคม พ.ศ. 2478
(มาตรา 3)
2
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 พุทธศักราช 2486
(ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 60/ตอนที่ 32/หน้า 1089/19 มิถุนายน พ.ศ. 2486)
โดยที่เห็นสมควรขยายการใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้ทั่วถึง เพื่อความมั่นคงและวัฒนธรรมแห่งชาติ

และโดยที่มีเหตุฉุกเฉินซึ่งจะเรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎรให้ทันท่วงทีมิได้
วันใช้พระราชกำหนด 19 มิถุนายน พ.ศ. 2486
( มาตรา 2 ให้ใช้พระราชกำหนดนี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป)
3
พระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 พุทธศักราช 2486 พุทธศักราช 2486
(ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 60/ตอนที่ 47/หน้า 1343/14 กันยายน พ.ศ. 2486)
โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นสมควรอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 พุทธศักราช 2486 ตามความในมาตรา 52 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย วันใช้พระราชบัญญัติ 14 กันยายน พ.ศ. 2486
(มาตรา 2 ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป)
4
พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519
(ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93/ตอนที่ 129/ฉบับพิเศษ/หน้า 4/15 ตุลาคม พ.ศ. 2519)
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 28 วรรคสอง บัญญัติว่าชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน จำต้องแก้ไขบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น วันใช้พระราชบัญญัติ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2519
(มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป)
วันใช้ประมวลกฎหมาย 16 ตุลาคม พ.ศ. 2519
(มาตรา 3)
บรรพ 6 มรดก 20px
ครั้งที่ กฎหมายที่ให้ประกาศใช้ เหตุผลในการประกาศใช้ วันใช้บังคับ
1
พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 6 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477
(ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52/หน้า 529/7 มิถุนายน พ.ศ. 2478)
โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า การประมวลกฎหมายแห่งบ้านเมืองได้ดำเนินมาถึงคราวที่ควรใช้บรรพ 6 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วันใช้พระราชบัญญัติ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2478
(มาตรา 2 ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป)
วันใช้ประมวลกฎหมาย 1 ตุลาคม พ.ศ. 2478
(มาตรา 3)
2
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 6 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 พุทธศักราช 2486
(ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 60/ตอนที่ 32/หน้า 1092/19 มิถุนายน พ.ศ. 2486)
โดยที่เห็นสมควรขยายการใช้บทบัญญัติบรรพ 6 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้ทั่วถึง เพื่อความมั่นคงและวัฒนธรรมแห่งชาติ

และโดยที่มีเหตุฉุกเฉินซึ่งจะเรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎรให้ทันท่วงทีมิได้
วันใช้พระราชกำหนด 19 มิถุนายน พ.ศ. 2486
(มาตรา 2 ให้ใช้พระราชกำหนดนี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป)
3
พระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 6 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 พุทธศักราช 2486 พุทธศักราช 2486
(ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 60/ตอนที่ 47/หน้า 1345/14 กันยายน พ.ศ. 2486)
โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นสมควรอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 6 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 พุทธศักราช 2486 ตามความในมาตรา 52 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย วันใช้พระราชบัญญัติ 14 กันยายน พ.ศ. 2486
(มาตรา 2 ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป)

การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

{{บทความหลัก2}}

Structure

The Civil and Commercial Code comprises of six Books, structured according to the Pandectist System.[38] The six Books are as follows:

  • Book 1 : General Provisions consiting of six Titles:
    • Title 1 : General Provisions
    • Title 2 : Persons
    • Title 3 : Things
    • Title 4 : Juristic Acts
    • Title 5 : Periods of Time
    • Title 6 : Prescriptions
  • Book 2 : Obligation consiting of five Titles:
    • Title 1 : General Provisions
    • Title 2 : Contracts
    • Title 3 : Management of Affairs without Mandate
    • Title 4 : Undue Enrichment
    • Title 5 : Wrongful Acts (Torts)
  • Book 3 : Specific Contracts consiting of twenty three Titles:
    • Title 1 : Sale
    • Title 2 : Exchange
    • Title 3 : Gift (Gratutious Transfer)
    • Title 4 : Hire of Property
    • Title 5 : Hire-Purchase
    • Title 6 : Hire of Services
    • Title 7 : Hire of Work
    • Title 8 : Carriage
    • Title 9 : Loan
    • Title 10 : Deposit
    • Title 11 : Suretyship
    • Title 12 : Mortgage
    • Title 13 : Pledge
    • Title 14 :Warehousing
    • Title 15 : Agency
    • Title 16 : Brokerage
    • Title 17 : Compromise
    • Title 18 : Gambling and Betting
    • Title 19 : Current Account
    • Title 20 : Insurance
    • Title 21 : Bills
    • Title 22 : Partnerships and Companies
    • Title 23 : Associations
  • Book 4 : Property consiting of eight Titles:
    • Title 1 : General Provisions
    • Title 2 : Ownership
    • Title 3 : Possession
    • Title 4 : Servitudes
    • Title 5 : Habitation
    • Title 6 : Superficies
    • Title 7 : Usfruct
    • Title 8 : Charge on Immovable Property
  • Book 5 : Family consiting of three Titles:
    • Title 1 : Civil Marriage
    • Title 2 : Parent and Child
    • Title 3 : Maintenance
  • Book 6 : Succession consiting of six Titles:
    • Title 1 : General Provisions
    • Title 2 : Statutory Right of Succession
    • Title 3 : Wills
    • Title 4 : Administration and Distribution of an Estate
    • Title 5 : Vacant Estate
    • Title 6 : Prescriptions

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย

[[ไฟล์:Charles Montesquieu.jpg|170px|thumb|right|มงแตสกีเยอ (Montesquieu) ใน ค.ศ. 1728 (พ.ศ. 2271)]]

กฎหมายไทยแต่โบร่ำโบราณ โดยเฉพาะกฎหมายตราสามดวงนั้น มักระบุเหตุผลที่ตราบทบัญญัตินั้น ๆ ไว้ในบทบัญญัติด้วย เช่น กฎหมายตราสามดวง กฎหมายลักษณะผัวเมีย มาตรา 67 ว่า "ภรรยาสามีมิชอบเนื้อพึงใจกัน จะหย่ากันไซร้ ตามน้ำใจเขา เหตุว่าเขาทั้งสองสิ้นบุญกันแล้ว จะจำใจให้อยู่ด้วยกันนั้นมิได้"[39] ซึ่งการให้เหตุผลในตัวบทกฎหมายด้วยเช่นนี้ยังเป็นที่นิยมมาถึงในสมัยร่างกฎหมายลักษณะอาญาและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย ขณะที่การบัญญัติกฎหมายในปัจจุบันจะไม่พึงกระทำเช่นนั้นเด็ดขาด ดังที่ ชาร์ล-ลูอี เดอ เซอกงดา ผู้เป็นบารงแห่งแบรดและมงแตสกีเยอ (Charles-Louis de Secondat, baron de La Brède et de Montesquieu) หรือที่รู้จักกันในชื่อ "มงแตสกีเยอ" (Montesquieu) นักคิดนักเขียนทางการเมืองชาวฝรั่งเศส ว่า[40] [41]

"กฎหมายนั้นไม่สมควรจะบัญญัติในเชิงอภิปราย การให้เหตุผลรายละเอียดแห่งการบัญญัติกฎหมายนั้น ๆ เป็นเรื่องเสี่ยงภัยโดยแท้ เพราะการให้เหตุผลดังกล่าวย่อมเปิดช่องให้เกิดการโต้แย้งขึ้นได้"

หยุด แสงอุทัย ศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงการให้เหตุผลในตัวบทกฎหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่า[42]

"กฎหมายที่บัญญัติขึ้นในสมัยเก่า ๆ นั้น ในบางบทบางมาตราได้เขียนอธิบายเหตุผลของการที่บัญญัติข้อความเช่นนั้นไว้ในบทมาตรานั้นเอง แม้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เองก็เคยเขียนเหตุผลไว้ในบทมาตราเหมือนกัน แต่ผู้เขียนจำได้เพียงมาตราเดียว คือ มาตรา 204 ซึ่งใช้คำว่า '...ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัด เพราะเขาเตือนแล้ว' เป็นเหตุผลซึ่งไม่สมควรจะใส่ไว้ในกฎหมาย สำหรับบทกฎหมายนั้นความสำคัญอยู่ที่ว่าลูกหนี้ผิดนัดหรือไม่เท่านั้น ตามที่กล่าวมาแล้วหมายความว่า ไม่สมควรที่บทมาตราต่าง ๆ จะบัญญัติถึงเหตุผลของการที่มีบทบัญญัตินั้นขึ้น เพราะการให้เหตุผลของการที่ควรมีบทบัญญัติขึ้นนี้ควรจะเป็นเรื่องที่ผู้เสนอกฎหมายที่จะอธิบายต่อองค์การที่จะอนุมัติให้บัญญัติกฎหมายมากกว่า เช่น เป็นหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีที่เสนอกฎหมายต่อสภาผู้แทนฯ ที่จะอธิบายเหตุผลการบัญญัติกฎหมายนั้นให้สภาผู้แทนฯ ทราบ เป็นต้น แต่การที่จะไปเขียนไว้ในบทมาตรานั้นย่อมจะเป็นการฟุ่มเฟือย บทมาตราต่าง ๆ ของกฎหมายควรจะมีข้อความสั้น ๆ กะทัดรัด อ่านง่าย เข้าใจง่าย เช่น จะต้องห้ามการอย่างไรก็เขียนห้ามไว้ ไม่จำเป็นต้องเขียนอธิบายว่า ทำไมจึงต้องมีบทบัญญัติห้ามการกระทำเช่นว่านั้น ข้อที่ควรระลึกมีว่า อย่าเอาเหตุผลในการบัญญัติกฎหมายไปปนกับเหตุผลของข้อความซึ่งอาจใส่เพื่อความชัดเจนได้ เช่น เมื่อพูดถึงวิกลจริต ก็อาจเขียนเหตุแห่งการวิกลจริตลงได้..."

ทั้งนี้ มาตรา 204 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังที่ หยุด แสงอุทัย อ้างถึงนั้น มีข้อความเต็ม ๆ ดังต่อไปนี้ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2468 ตราบทุกวันนี้

"ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว และภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัด เพราะเขาเตือนแล้ว

ถ้าได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน และลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ตามกำหนดไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำระหนี้ซึ่งได้กำหนดเวลาลงไว้อาจคำนวณนับได้โดยปฏิทินนับแต่วันที่ได้บอกกล่าว"

เชิงอรรถ

  1. ^ a b Sawaeng Bunchaloemwiphat, 2009 : 204.
  2. ^ a b ชาญชัย แสวงศักดิ์, 2539 : 68.
  3. ^ Somyot Chueathai, 2551 : 11.
  4. ^ Government Gazette; 1908, 1 June : Online.
  5. ^ Somyot Chueathai, 2551 : 11-12.
  6. ^ Sawaeng Bunchaloemwiphat, 2009 : 228-229.
  7. ^ Sawaeng Bunchaloemwiphat, 2009 : 229.
  8. ^ a b Sawaeng Bunchaloemwiphat, 2009 : 230.
  9. ^ René Guyon, 1993 : 107.
  10. ^ Sawaeng Bunchaloemwiphat, 2009 : 230-231.
  11. ^ ชาญชัย แสวงศักดิ์, 2539 : 54-55.
  12. ^ เอกสารกระทรวงยุติธรรม รัชกาลที่ 6 หมายเลข ย 121/2ฯ.
  13. ^ ชาญชัย แสวงศักดิ์, 2539 : 52.
  14. ^ Sawaeng Bunchaloemwiphat, 2009 : 231.
  15. ^ ชาญชัย แสวงศักดิ์, 2539 : 56.
  16. ^ เรอเน่ กียอง, 2536 : 105-106.
  17. ^ คำแปลต้นฉบับใช้คำว่า "มลรัฐ" อย่างไรก็ดี คำนี้เลิกใช้แล้วตามประกาศของราชบัณฑิตยสถาน ดู รัฐในสหรัฐอเมริกา
  18. ^ Sawaeng Bunchaloemwiphat, 2009 : 232.
  19. ^ ชาญชัย แสวงศักดิ์, 2539 : 57-58.
  20. ^ Sawaeng Bunchaloemwiphat, 2009 : 233.
  21. ^ Sawaeng Bunchaloemwiphat, 2009 : 233.
  22. ^ ชาญชัย แสวงศักดิ์, 2539 : 60.
  23. ^ แสวง บุญเฉลิมวิภาส, 2552 : 235.
  24. ^ ภาควิชานิติศึกษาทางสังคม ปรัชญา และประวัติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2523, 12 กันยายน : 2-4.
  25. ^ ราชกิจจานุเบกษา; 2468, 11 พฤศจิกายน : ออนไลน์.
  26. ^ หยุด แสงอุทัย; 2507, 6 กุมภาพันธ์ : 129.
  27. ^ สมยศ เชื้อไทย, 2551 : 12.
  28. ^ สมยศ เชื้อไทย, 2551 : 12-13.
  29. ^ Sawaeng Bunchaloemwiphat, 2009 : 256.
  30. ^ Sawaeng Bunchaloemwiphat, 2009 : 256-257.
  31. ^ Sawaeng Bunchaloemwiphat, 2009 : 257.
  32. ^ ราชบัณฑิตยสถาน, 2551 : ออนไลน์.
  33. ^ สมยศ เชื้อไทย, 2551 : 19-21.
  34. ^ Sawaeng Bunchaloemwiphat, 2009 : 242.
  35. ^ ธานินทร์ กรัยวิเชียร, 2517 : 6.
  36. ^ Sawaeng Bunchaloemwiphat, 2009 : 243-244.
  37. ^ Sawaeng Bunchaloemwiphat, 2009 : 244-245.
  38. ^ Somyot Chueathai, 2008 : 13.
  39. ^ ธานินทร์ กรัยวิเชียร และอภิชน จันทรเสน, 2550 : 197-198.
  40. ^ Carleton Kemp Allen, 1964 : 482-483.
  41. ^ ธานินทร์ กรัยวิเชียร และอภิชน จันทรเสน, 2550 : 198.
  42. ^ หยุด แสงอุทัย, 2492 : 323-324.

อ้างอิง

ภาษาไทย

หนังสือ

  • ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2539). อิทธิพลของฝรั่งเศสในการปฏิรูปกฎหมายไทย. กรุงเทพฯ : นิติธรรม. ISBN 9747761577 Parameter error in {{ISBN}}: checksum.
  • ธานินทร์ กรัยวิเชียร และอภิชน จันทรเสน. (2550). คำแนะนำนักศึกษากฎหมาย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ISBN 9789745719941.
  • ราชบัณฑิตยสถาน.
    • (2543). พจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. ISBN 9748123529.
    • (2544). พจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. ISBN 9748123758.
  • สมยศ เชื้อไทย. (2551). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับใช้เรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : วิญญูชน. ISBN 9789742886370.
  • แสวง บุญเฉลิมวิภาส. (2552). ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : วิญญูชน. ISBN 9789742886257.

หนังสือพิมพ์

  • ราชกิจจานุเบกษา.
    • (2451, 1 มิถุนายน). กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก>. (เข้าถึงเมื่อ: 6 พฤศจิกายน 2552).
    • (2468, 11 พฤศจิกายน). พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 และ 2 ที่ได้ตรวจชำระใหม่. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก>. (เข้าถึงเมื่อ: 6 พฤศจิกายน 2552).
    • (2471, 1 มกราคม). พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ที่ได้ตรวจชำระใหม่. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก>. (เข้าถึงเมื่อ: 6 พฤศจิกายน 2552).
    • (2473, 18 มีนาคม). พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก>. (เข้าถึงเมื่อ: 6 พฤศจิกายน 2552).
    • (2478, 29 พฤษภาคม). พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก>. (เข้าถึงเมื่อ: 6 พฤศจิกายน 2552).
    • (2478, 7 มิถุนายน). พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 6 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก>. (เข้าถึงเมื่อ: 6 พฤศจิกายน 2552).
    • (2478, 28 กรกฎาคม). แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 13 วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2478 พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 6 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก>. (เข้าถึงเมื่อ: 6 พฤศจิกายน 2552).
    • (2486, 19 มิถุนายน). พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 พุทธศักราช 2486. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก>. (เข้าถึงเมื่อ: 6 พฤศจิกายน 2552).
    • (2486, 19 มิถุนายน). พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 6 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 พุทธศักราช 2486. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก>. (เข้าถึงเมื่อ: 6 พฤศจิกายน 2552).
    • (2486, 14 กันยายน). พระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 พุทธศักราช 2486 พุทธศักราช 2486. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก>. (เข้าถึงเมื่อ: 6 พฤศจิกายน 2552).
    • (2486, 14 กันยายน). พระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 6 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 พุทธศักราช 2486 พุทธศักราช 2486. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก>. (เข้าถึงเมื่อ: 6 พฤศจิกายน 2552).
    • (2519, 26 สิงหาคม). ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. ... . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก>. (เข้าถึงเมื่อ: 6 พฤศจิกายน 2552).
    • (2519, 27 กันยายน). ประกาศ วุฒิสภา เรื่อง ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. ... . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก>. (เข้าถึงเมื่อ: 6 พฤศจิกายน 2552).
    • (2519, 15 ตุลาคม). พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก>. (เข้าถึงเมื่อ: 6 พฤศจิกายน 2552).
    • (2535, 21 มกราคม). ประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา เรื่อง ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. ... และร่างพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก>. (เข้าถึงเมื่อ: 6 พฤศจิกายน 2552).
    • (2535, 8 เมษายน). พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก>. (เข้าถึงเมื่อ: 6 พฤศจิกายน 2552).

บทความ

  • ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2517). "อิทธิพลของกฎหมายอังกฤษในระบบกฎหมายไทย". วารสารนิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, (ปีที่ 1, ฉบับที่ 2).
  • เรอเน่ กียอง. (2536). "การตรวจชำระและร่างประมวลกฎหมายในกรุงสยาม". (วิษณุ วรัญญู แปล). วารสารนิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, (ปีที่ 23, ฉบับที่ 1).
  • หยุด แสงอุทัย.
    • (2492). "การร่างกฎหมาย". นิติสาสน์, (ปีที่ 20, เล่ม 2).
    • (2507, 6 กุมภาพันธ์). "การร่างกฎหมายในประเทศไทย". วารสารทนายความ, (ปีที่ 6).

แหล่งข้อมูลออนไลน์

  • ราชบัณฑิตยสถาน.
    • (2551, 7 กุมภาพันธ์). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก>. (เข้าถึงเมื่อ: 12 กันยายน 2552).
    • (ม.ป.ป.). ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก>. (เข้าถึงเมื่อ: 12 กันยายน 2552).
  • สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2551, 10 มีนาคม). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก>. (เข้าถึงเมื่อ: 12 กันยายน 2552).

เอกสารอื่น

  • ภาควิชานิติศึกษาทางสังคม ปรัชญา และประวัติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2523, 12 กันยายน). บันทึกคำสัมภาษณ์พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา). (เอกสารในห้องสมุดสัญญาธรรมศักดิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนยืท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร).
  • เอกสารกระทรวงยุติธรรม รัชกาลที่ 6 หมายเลข ย 121/2 หนังสือเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมกราบบังคมทูล เรื่อง ระเบียบวิธีการในการร่างกฎหมาย. (เอกสารรักษาไว้ที่กระทรวงยุติธรรม กรุงเทพมหานคร).

ภาษาต่างประเทศ

See also



{{Thai legal codes}}

หมวดหมู่:ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์